ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ
ความหมายของระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้
1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>) ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรงเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
3. ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
4. ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็ คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
5. ระบบปฏิบัติการ MAC OS เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ยุคใหม่จะมีซีพียู ดีไวช์คอนโทรลเลอร์ (Device controller) ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านคอมมอนบัส (Common bus) ซึ่งแชร์เมโมรีกัน
หน้าที่โดยทั่วไปของสัญญาณขัดจังหวะ
• สัญญาณขัดจังหวะจะส่งการควบคุมไปยัง Interrupt service routine ผ่านทางตารางสัญญาณขัดจังหวะ
• สถาปัตยกรรมของสัญญาณขัดจังหวะ จะต้องบันทึกตำแหน่งของชุคำสั่งที่ถูกขัดจังหวะไว้
• สัญญาณขัดจังหวะที่เข้าสู่ระบบจะถูก Disable ถ้ามีการทำงานของสัญญาณขัดจังหวะตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว เพื่อป้องกันการสูญหายของสัญญาณขัดจังหวะ
โครงสร้างของ DMA (Direct Memory Access Structure)
• ใช้ สำหรับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง เช่น เทป จานเม่เหล็ก หรือข่ายงานสื่อสาร อาจมีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ใกล้เคียงกับความเร็วของหน่วยความจำ
• มีการใช้ Direct Memory Access มา แก้ไขปัญหา สำหรับอุปกรณ์ที่มีควาเร็วสูงเหล่านี้ ตัวควบคุมอุปกรณ์จะส่งข้อมูลจากบัฟเฟอร์ของตนมายังหน่วยความจำหลักโดยตรงที ละชุด โดยไม่ได้อาศัยหน่วยประมวลผลกลางเลย
• การทำงานก็เหมือนเดิม คือ เมื่อโปรแกรมของผู้ใช้ต้องการรับส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ ระบบก็จะจัดบัฟเฟอร์
โครงสร้างของหน่วยเก็บข้อมูล (Storage Structures)
หน่วยความจำหลักหรือเมนโมรีอย่างถาวร แต่ทำไม่ได้ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1. หน่วยความจำหลักเล็กเกินไปที่จะเก็บโปรแกรมและข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดอย่างถาวร
2. หน่วยความจำหลักเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว เพราะเมื่อเครื่องปิดข้อมูลก็หาย
ที่มา https://beerkung.wordpress.com/ประเภทของระบบปฏิบัติกา-2/ระบบปฏิบัติการ-mac/
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean5.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น